วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 5

แบบฝึกหัดทบทวน(บทที่ 3)


1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.. 2542         
ตอบ       กการศึกษา หมายความว่ากระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึกการอบรมการสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการการสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่าการศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
. มาตรฐานการศึกษา หมายความว่าข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบการประเมินและการประกันคุณภาพทางการศึก
การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่ายงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรองรับเพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
. ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
. คณาจารย์ หมายความว่าบุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญา
. ผู้บริหารสถานศึกษาหมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
. ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่าผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนการนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

2.  ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
ตอบ   การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจสติปัญญาความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

3.  หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไร
ตอบ   หลักการจัดการศึกษามี  3  ประการคือ
          (1)  เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
          (2)  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
          (3)  การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4.  การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ      (1)   มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2)   มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3)   มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4)   มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5)  ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการจัดการศึกษา
(6)  การมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัวชุมชนองค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชนองค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนาสถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น

5.  สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ       1.  การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า12 ปีอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและไม่เก็บค่าใช้จ่าย
 2.  บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายจิตใจสติปัญญาอารมณ์สังคมผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
 3.  พ่อแม่ ผู้ปกครองบุคคลครอบครัวองค์กรชุมชนองค์กรเอกชนสถานประกอบการสถาบันศาสนาและสถาบันอื่นๆมีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไปผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐรวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ       ระบบการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ
(1)   การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมายวิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลา
ของการศึกษาการวัดและการประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
             (2)  การศึกษานอกระบบเป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษาโดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3)  การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ
ความพร้อมและโอกาสโดยศึกษาจากบุคคลประสบการณ์สังคมสภาพแวดล้อมสื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ   เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมายวิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษาการวัดและการประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ   สามารถดำเนินกิจการได้โดยอิสระสามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนมีความคล่องตัวมีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางซึ่งจะต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีกา

9.  แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ       1. ยึดหลักว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดและต้องให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัดความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา
2. เนื้อหาสาระของการศึกษาทุกระบบทุกรูปแบบต้องเน้นความรู้คู่คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณการ(ผสมผสานตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา
3. เนื้อหาสาระของวิชาความรู้ที่ต้องไปกำหนดหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องต่างๆต่อไปนี้

10.  ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครูผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ   เห็นด้วย

11.  มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
ตอบ      1. วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
2. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ
3. จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
4. ดำเนินการวางแผนการระดมทรัพยากร ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ดำเนินการตามแผนการดำเนินการ โดยการจัดประชุมผู้ปกครอง จัดประชุม
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชนผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อหาแนวร่วมในการให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาสำรวจแหล่งเรียนรู้สถานประกอบการและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อทำข้อตกลงการให้ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันจัดการบริหาร และใช้ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
             6. ประเมินผลการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง

12.  การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
ตอบ      1. จัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่ จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์วิทยุโทรคมนาคมและการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษา
2.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตำราหนังสือทางวิชาการสื่อสิ่งพิมพ์อื่นวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต
3.  ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ
4.  ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษารวมทั้งการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
5.  ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน
6.  จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริมและประสานการวิจัยการพัฒนาและการใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น