วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 3

          แบบฝึกหัด บทที่ 1 ความรููู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

  1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ มนุษย์เป็นสิ่งที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือ คำนิยามที่เรียกว่าสัตว์สังคม การที่มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก  จะต้องเกิดการมีความเห็นที่แตกต่างกัน เกิดการขัดแย้งกัน ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งกฎ และระเบียบจำกัดสิทธิบางอย่าง และให้มีเสรีภาพเท่าที่จำเป็น เพื่อที่มนุษย์จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง หากไม่มีกฏหมายก็จะก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทขั้นถึงทำร้ายร่างกาย สาเหตุ มาจากความไม่พอใจ มีการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร                                   
ตอบ  อยู่ไม่ได้  เพราะขาดกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน  บ้านเมืองก็จะเกิดความวุ่นวาย  ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบ  คนในสังคมก็กระทำความผิดและเห็นแก่ตัวกันเยอะ เมื่อคนทำความผิดกันแล้วก็จะไม่ได้รับการลงโทษ จึงทำให้ต้องมีกฏเกณฑ์หรือกฏหมายมาบังคับ


3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้                                                                
ก. ความหมาย                       ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย                                                  
ค. ที่มาของกฎหมาย            ง. ประเภทของกฎหมาย                                                                                
ตอบ  ความหมายของกฎหมาย   กฎหมายคือ คา สั่งหรือข้อบังคับ ที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นข้อบังคับ ใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ                                                                                                         
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย 
         1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
          2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย
         3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
         4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด
          ที่มาของกฎหมาย
                       1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร                                                       
                       2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน                                
                       3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                       4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา                                            
                       5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น                                                                                                                                                     
              ประเภทของกฎหมาย ซึ่งมีการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆไปดังนี้                                                                                                                           
                ก. กฎหมายภายใน   มีดังนี้                                                                                                    
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร                                                
                1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร                                                                                          
                1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
                2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
                3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                4.1 กฎหมายมหาชน
                4.2 กฎหมายเอกชน
                ข. กฎหมายภายนอก    มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา


4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
           ตอบ  ทุกประเทศต้องมีกฎหมายเพราะต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีสิทธิเสรีภาพ มีประชาธิปไตยเพื่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ลดความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ที่สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ เพื่อควบคุมควบความประพฤติของมนุษย์ในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสงบให้เกิดขึ้นในสังคม
               

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
          ตอบ   บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ มีสภาพบังคับ ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นเหนือกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับทางอาญา คือโทษบุคคลทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์ หากเป็นคดีแพ่ง จะต้องชดใช้สินไหมทดแทน เป็นต้น
              

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
            ตอบ   ต่างกัน  เพราะ
 -  กฎหมายอาญา โทษบุคคลทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
-  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สาหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
               

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
            ตอบ  แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกาเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสาคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสาคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ


8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
         ตอบ   แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก   กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
        แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
        แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
        แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
        แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
มี 2 ประเภท
1.  กฎหมายภายใน
                        ·  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                        ·  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                        ·  กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                        ·  กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2.  กฎหมายภายนอก
                        ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                        ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                        ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
                        

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
            ตอบ   คือ การจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
มีการแบ่งซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
(1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
(2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
              (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
              

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
       ตอบ   กระทำผิด เพราะรัฐบาลต้องมีความมั่นใจในประชาชนของตนเองว่าจะรักษาคำพูด การที่มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนเป็นเหตุการณ์อย่างสงบ ชุมนุมเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม รัฐบาลควรที่จะดูแลความเรียบร้อย หากเมื่อลงมือทำร้ายประชาชนก็ถือว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
                

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
        ตอบ การจัดการศึกษามีการปฏิรูปให้สอดคล้องกับภาวะบ้านเมืองปัจจุบันจึงได้นำบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้กำหนดให้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ดังนั้นครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป


12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
          ตอบ   ถ้าเราไม่รู้เรื่องกฎหมายการศึกษาส่งผลกระทบคือ  เราก็ไม่สามารถรู้ว่าสิ่งที่เรากระทำอยู่นั้นเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมต่อเด็กนักเรียนอย่างไร  และอาจจะไม่รู้ว่าสิ่งที่เราได้ทำไปนั้นเป็นที่ผิดกฎหมาย แต่เราก็ได้กระทำไปแล้ว  ทำให้ส่งผลกระทบต่อตัวเองและเด็กนักเรียนของเราอีกด้วย ดังนั้นกฎหมายการศึกษาจึงจำเป็นต่ออาชีพครูเป็นอย่างมาก
                




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น