วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบปลายภาค

                                                            ข้อสอบปลายภาค

1.กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง      ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ
    ตอบ กฎหมายทั่วไป เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม   กฎหมาย มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น  ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเหล่านี้เป็นต้น
            กฎมายการศึกษา เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของการศึกษาเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อคับเกี่ยวกับการศึกษาที่ตราขึ้นเพื่อใช้ในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและมีบทลงโทษเมื่อกระทำผิดในข้อบังคับต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา เช่น มาโรงเรียนสายเป็นประจำ เว้นแต่มีเหตุผลตามสมควร แต่งกายไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนให้ลงโทษตามที่กำหนดไว้  แต่งกายไม่สุภาพทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน  อันส่อให้เห็นว่าเป็นการไม่ถูก  พูดจาหยาบคาย  หนีโรงเรียน  หนีห้องเรียนถือเป็นการลงโทษสถานเบา หรือการตัดคะแนนในกรณีเล่นการพนัน ทะเลาะวิวาท หรือสถานหนักเช่นมั่วสุมยาเสพติดเหล่านี้เป็นต้น
...............................................................................

2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 
ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
     ตอบ  รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา สาระสำคัญของกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ละฉบับที่เกี่ยวกับการศึกษา พบว่านับตั้งแต่ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม 
ให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรมโดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปีรัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติหรือเรียกชื่อว่า
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น
                                                       ...............................................................................

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ
    ตอบ  พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มี 20 มาตรา โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา  มารดา  หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี  โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ 
    ประเด็นหรือมาตราที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ
             มาตรา  6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา
                                เมื่อผู้ปกครองร้องขอ  ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
                                                   ...............................................................................

4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร  ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
       ตอบ กรณีที่ไม่มีใบวิชาชีพครู พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา46  กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภาและห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
          เนื่องจากเหตุผลและความจำเป็นของสถานศึกษาในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งต้องใช้บุคคลเข้าประกอบวิชาชีพ เพื่อจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุที่ไม่สามารถสรรหาผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเข้ามาดำเนินการสอน
                 บุคคลที่จะเข้ามาปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต ดังนี้
คุณสมบัติการพิจารณาอนุญาต
            ผู้ที่จะขอเข้าประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
           1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
           2. มีคุณวุฒิตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
              (1) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า
              (2) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี  ที่ ก.ค.ศ.รับรอง  ซึ่งกำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู  และเป็นวุฒิปริญญาในสาขาที่สอดคล้องกับระดับชั้นที่เข้าสอน ตามที่คุรุสภากำหนด ยกเว้นโรงเรียนในพระราชดำริ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนโครงการพิเศษต่างๆ ที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัด และมีคะแนนเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไป โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร หรือโรงเรียนเสี่ยงภัย ตามประกาศของทางราชการ และจัดให้มีการอบรมในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนเบื้องต้นด้วย
          3. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546   
   เงื่อนไขการอนุญาต
          1. สถานศึกษาชี้แจงเหตุผลความจำเป็น หรือความขาดแคลน ต้องรับบุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู  
          2. สถานศึกษาจะต้องแนบประกาศการรับสมัครและการสรรหาบุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู
          3.  สถานศึกษาจะต้องแนบคำสั่งของคณะกรรมการของสถานศึกษาในการคัดเลือกบุคคลเข้าประกอบชาชีพครู


            4. สถานศึกษาต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะราย ผ่านต้นสังกัด โดยจะต้องปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาตเท่านั้น ภายใต้การควบคุมของผู้บริหารสถานศึกษา
    5. ระยะเวลาการอนุญาตครั้งละไม่เกิน 2 ปี และต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต่อไป
          6. หากผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ฝ่าฝืนจรรยาบรรณของ
วิชาชีพ หรือปฏิบัติการสอนผิดเงื่อนไข หรือไม่สามารถพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการอนุญาต การอนุญาตดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุด
                   ผู้ใดฝ่าฝืน  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
                                                  ...............................................................................

 5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
       ตอบ สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือผู้มี
สิทธิ์คุ้มครองเด็กเพื่อให้มีอำนาจในการตรวจค้น สมบัติต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องปลดจากการเป็นครู
                                                     ...............................................................................

6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2  และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
     ตอบ ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2 และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้นั้น             
             ประเด็นแรก การขาด ลา ต่างๆในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นนับคือหากเราจะลาไม่สามารถมาดำเนินการตามปกติได้นั้นเราต้องทำอย่างไร และเราเองนั้นลาเพื่อทำอะไร เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาครึ่งวัน ลาได้ครั้งละกี่วัน การมาทำงานสายเหล่านี้เป็นต้น
             ประเด็นที่สอง คงจะเป็นการลงโทษเด็กว่าการลงโทษนักเรียนนั้นสามารถกระทำได้แต่ต้องไม่เกิดจากการแค้นส่วนตัวเช่นตีเด็ก ใช้เตารีดร้อนๆมาโดนตัวเด็ก ลงโทษเด็กเกินกว่าเหตุเหล่านี้เราควรศึกษากฎหมายว่าลงโทษได้ประมานไหนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดแก่ตัวเราเองเพราะมีกฎหมายรองรับอยู่ว่าหากเราทำการลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุนั้นจะต้องถูกดำเนินคดี
                                                           ...............................................................................

7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   
พอสังเขป


     ตอบ การใช้ เว็บล็อก (weblog)  ในการเรียนการสอนเป็นการเรียนรู้ที่ทันสมัย จะทำให้สะดวกและประหยัดเวลาในการเรียนการสอน ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ในห้องเรียน และข้อมูลที่เราเรียนรู้สามารถนำมาเรียนรู้ใหม่ได้อีก นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา
                                                             ...............................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น