วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 6

1เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
  ตอบ   เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษา
แห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้
รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาพื้นฐาน
จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมความปรับปรุง
กฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษาเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมาย
         
2. ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร   
.ผู้ปกครอง   ข.เด็ก     ค.การศึกษาภาคบังคับ     ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น              
 ตอบ                   ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ
ปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคล
ที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
                       “ เด็ก” หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
                        การศึกษาภาคบังคับ” หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของ
การศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                         องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี
สถานศึกษาอยู่ในสังกัด
        
3. กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็ก
ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน                
ตอบ  กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษโดยปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท แล้วให้ผู้ปกครองส่งเด็ก
เข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผัน ให้เด็กเข้าเรียนก่อน
หรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
           

อนุทิน 5

แบบฝึกหัดทบทวน(บทที่ 3)


1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.. 2542         
ตอบ       กการศึกษา หมายความว่ากระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึกการอบรมการสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการการสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่าการศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
. มาตรฐานการศึกษา หมายความว่าข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบการประเมินและการประกันคุณภาพทางการศึก
การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่ายงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรองรับเพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
. ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
. คณาจารย์ หมายความว่าบุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญา
. ผู้บริหารสถานศึกษาหมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
. ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่าผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนการนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

2.  ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
ตอบ   การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจสติปัญญาความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

3.  หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไร
ตอบ   หลักการจัดการศึกษามี  3  ประการคือ
          (1)  เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
          (2)  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
          (3)  การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4.  การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ      (1)   มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2)   มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3)   มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4)   มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5)  ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการจัดการศึกษา
(6)  การมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัวชุมชนองค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชนองค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนาสถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น

5.  สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ       1.  การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า12 ปีอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและไม่เก็บค่าใช้จ่าย
 2.  บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายจิตใจสติปัญญาอารมณ์สังคมผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
 3.  พ่อแม่ ผู้ปกครองบุคคลครอบครัวองค์กรชุมชนองค์กรเอกชนสถานประกอบการสถาบันศาสนาและสถาบันอื่นๆมีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไปผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐรวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ       ระบบการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ
(1)   การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมายวิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลา
ของการศึกษาการวัดและการประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
             (2)  การศึกษานอกระบบเป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษาโดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3)  การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ
ความพร้อมและโอกาสโดยศึกษาจากบุคคลประสบการณ์สังคมสภาพแวดล้อมสื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ   เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมายวิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษาการวัดและการประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ   สามารถดำเนินกิจการได้โดยอิสระสามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนมีความคล่องตัวมีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางซึ่งจะต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีกา

9.  แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ       1. ยึดหลักว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดและต้องให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัดความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา
2. เนื้อหาสาระของการศึกษาทุกระบบทุกรูปแบบต้องเน้นความรู้คู่คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณการ(ผสมผสานตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา
3. เนื้อหาสาระของวิชาความรู้ที่ต้องไปกำหนดหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องต่างๆต่อไปนี้

10.  ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครูผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ   เห็นด้วย

11.  มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
ตอบ      1. วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
2. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ
3. จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
4. ดำเนินการวางแผนการระดมทรัพยากร ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ดำเนินการตามแผนการดำเนินการ โดยการจัดประชุมผู้ปกครอง จัดประชุม
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชนผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อหาแนวร่วมในการให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาสำรวจแหล่งเรียนรู้สถานประกอบการและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อทำข้อตกลงการให้ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันจัดการบริหาร และใช้ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
             6. ประเมินผลการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง

12.  การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
ตอบ      1. จัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่ จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์วิทยุโทรคมนาคมและการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษา
2.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตำราหนังสือทางวิชาการสื่อสิ่งพิมพ์อื่นวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต
3.  ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ
4.  ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษารวมทั้งการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
5.  ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน
6.  จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริมและประสานการวิจัยการพัฒนาและการใช้

อนุทิน 4

แบบฝึกหัดทบทวน

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย

ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก  คือ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49



2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
                        หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
                        มาตรา 36 บุคคลยอ่ มมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่า ด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่า ด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
                        หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
                        มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้น ประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
                        หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
                        มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็ นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
                        มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบา รุงการศึกษาอบรม การจดัระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
                        มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้น ประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือใหม้ีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร 
                        มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์(ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)


3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวขอ้งกบัการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกนัอย่างไรอธิบาย
ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน


4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ในประเด็นที่ 1 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจ  ประเด็นที่ 2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน


5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวขอ้งกบัการศึกษาเหมือนหรือต่างกนัอยา่ งไร อธิบาย
ตอบ   เหมือนกันที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย


6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอยา่งเป็นธรรมและทั่ว ถึง อธิบาย
ตอบ  การปรับเปลี่ยนตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน


7. เหตุใดรัฐจึงต้องกา หนด“บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบตัิจะเกิดอะไรข้ึน
ตอบ   เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา


8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องคก์รปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจดัการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่า เป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  ฉบับที่ 5-10  (พ. 2540-2550)และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง



9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคท้ังหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ    มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกวา่ 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามสิทธิและการสนับ สนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับ บุคคลอื่น การจัดการศึกษาองค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     สรุปสาระสำคัญ ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ละฉบับ ที่เกี่ยวกับการศึกษา พบว่า นับ ตั้งแต่ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษา ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับ เด็กและเยาวชนใหเ้ป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน ไม่นอ้ยกว่า 12 ปีรัฐจะตอ้งจดัอย่างทั่ว ถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติหรือเรียกชื่อวา่ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น”

อนุทิน 3

          แบบฝึกหัด บทที่ 1 ความรููู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

  1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ มนุษย์เป็นสิ่งที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือ คำนิยามที่เรียกว่าสัตว์สังคม การที่มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก  จะต้องเกิดการมีความเห็นที่แตกต่างกัน เกิดการขัดแย้งกัน ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งกฎ และระเบียบจำกัดสิทธิบางอย่าง และให้มีเสรีภาพเท่าที่จำเป็น เพื่อที่มนุษย์จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง หากไม่มีกฏหมายก็จะก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทขั้นถึงทำร้ายร่างกาย สาเหตุ มาจากความไม่พอใจ มีการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร                                   
ตอบ  อยู่ไม่ได้  เพราะขาดกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน  บ้านเมืองก็จะเกิดความวุ่นวาย  ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบ  คนในสังคมก็กระทำความผิดและเห็นแก่ตัวกันเยอะ เมื่อคนทำความผิดกันแล้วก็จะไม่ได้รับการลงโทษ จึงทำให้ต้องมีกฏเกณฑ์หรือกฏหมายมาบังคับ


3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้                                                                
ก. ความหมาย                       ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย                                                  
ค. ที่มาของกฎหมาย            ง. ประเภทของกฎหมาย                                                                                
ตอบ  ความหมายของกฎหมาย   กฎหมายคือ คา สั่งหรือข้อบังคับ ที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นข้อบังคับ ใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ                                                                                                         
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย 
         1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
          2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย
         3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
         4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด
          ที่มาของกฎหมาย
                       1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร                                                       
                       2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน                                
                       3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                       4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา                                            
                       5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น                                                                                                                                                     
              ประเภทของกฎหมาย ซึ่งมีการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆไปดังนี้                                                                                                                           
                ก. กฎหมายภายใน   มีดังนี้                                                                                                    
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร                                                
                1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร                                                                                          
                1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
                2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
                3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                4.1 กฎหมายมหาชน
                4.2 กฎหมายเอกชน
                ข. กฎหมายภายนอก    มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา


4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
           ตอบ  ทุกประเทศต้องมีกฎหมายเพราะต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีสิทธิเสรีภาพ มีประชาธิปไตยเพื่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ลดความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ที่สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ เพื่อควบคุมควบความประพฤติของมนุษย์ในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสงบให้เกิดขึ้นในสังคม
               

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
          ตอบ   บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ มีสภาพบังคับ ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นเหนือกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับทางอาญา คือโทษบุคคลทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์ หากเป็นคดีแพ่ง จะต้องชดใช้สินไหมทดแทน เป็นต้น
              

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
            ตอบ   ต่างกัน  เพราะ
 -  กฎหมายอาญา โทษบุคคลทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
-  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สาหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
               

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
            ตอบ  แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกาเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสาคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสาคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ


8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
         ตอบ   แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก   กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
        แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
        แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
        แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
        แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
มี 2 ประเภท
1.  กฎหมายภายใน
                        ·  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                        ·  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                        ·  กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                        ·  กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2.  กฎหมายภายนอก
                        ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                        ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                        ·  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
                        

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
            ตอบ   คือ การจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
มีการแบ่งซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
(1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
(2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
              (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
              

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
       ตอบ   กระทำผิด เพราะรัฐบาลต้องมีความมั่นใจในประชาชนของตนเองว่าจะรักษาคำพูด การที่มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนเป็นเหตุการณ์อย่างสงบ ชุมนุมเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม รัฐบาลควรที่จะดูแลความเรียบร้อย หากเมื่อลงมือทำร้ายประชาชนก็ถือว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
                

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
        ตอบ การจัดการศึกษามีการปฏิรูปให้สอดคล้องกับภาวะบ้านเมืองปัจจุบันจึงได้นำบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้กำหนดให้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ดังนั้นครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป


12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
          ตอบ   ถ้าเราไม่รู้เรื่องกฎหมายการศึกษาส่งผลกระทบคือ  เราก็ไม่สามารถรู้ว่าสิ่งที่เรากระทำอยู่นั้นเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมต่อเด็กนักเรียนอย่างไร  และอาจจะไม่รู้ว่าสิ่งที่เราได้ทำไปนั้นเป็นที่ผิดกฎหมาย แต่เราก็ได้กระทำไปแล้ว  ทำให้ส่งผลกระทบต่อตัวเองและเด็กนักเรียนของเราอีกด้วย ดังนั้นกฎหมายการศึกษาจึงจำเป็นต่ออาชีพครูเป็นอย่างมาก